วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ขบวนการการสร้างความคิดในการกำหนดกลยุทธ์ ภาค 1

การสร้างกรอบความคิดในการกำหนดกลยุทธ์
           การกำหนดกลยุทธ์ เป็นศาสตร์ขั้นสูงในการจัดการธุรกิจ เนื่องจากเป็นเรื่องของการใช้ศิลป์ ที่ต้องมีจินตนา การในการสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ แต่ไม่เพ้อฝัน จนหลุดจากโลกแห่งความเป็นจริง หรือ ศาสตร์ ดังนั้น การเริ่ม กลยุทธ์ จะต้องมีกรอบความคิด และข้อมูลที่เป็นจริงที่มากพอ
           สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดกลยุทธ์ คือการเชื่อมั่นในประสบการณ์และความสำเร็จในอดีต มากเกินไปจนไม่นำข้อมูลความเป็นจริงมาวิเคราะห์ หรือเป็นการกำหนดกลยุทธ์ แบบคิดเอง เออเอง ซึ่งไม่ต่างจากการเดาสุ่ม ยิ่งในปัจจุบัน การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำใด้ง่ายกว่าในอดีต ยิ่งทำให้การกำหนดกลยุทธ์โดยปราศจากข้อมูลเชิงลึก ที่ถูกต้อง จะมีผลร้ายแรงกว่าการไม่มีกลยุทธ์เสียอีก

กรอบความคิดของกลยุทธ์ในเชิงธุรกิจ ประกอบด้วย

           1. การวิเคราะห์ ปัจจัยภายนอก(External Factor Environment) คือการวิเคราะห์ปัจจัยในระดับมหภาค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ เราไม่สามารถแก้ไขได้โดยตรง ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกจะทำให้เราเห็นถึงโอกาส และภัยคุกคามที่มีผลต่อองค์กร เครื่องมีที่นิยมใช้ ได้แก่
                   SPEELTD , Market Size , Market Segment,Market Share,Market Stucture ,Five Force ,Value Chain,Competitor Analysis  , Key Success Factor , และอื่นๆ ในเครื่องมือต่างๆ สามารถติดตามได้ในวิชา Advance Marketing ครับ

           2. การวิเคราะห์ ปัจจัยภายใน ( Internal Factor Environment ) คือการวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่ภายในองค์กรของเราเอง เพื่อหาจุดแข็ง และจุดอ่อน เพื่อนำไปกำหนดขั้นตอนในการบริหาร ให้เสริมจุดแข็งที่มีอยู่แล้วให้แกร่งมากขึ้น และ แก้ไขจุดอ่อน ที่มีอยู่ให้น้อยลง ซึ่่งโดยทั่วไปองค์กรควรจะมีการวิเคราะห์ในทุกๆปี หรือทุกๆไตรมาสยิ่งดี เนื่องจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เปรียบเสมือนการเข้าตรวจสุขภาพร่างกาย ซึ่งการตรวจสุขภาพบ่อย ย่อมเป็นการเฝ้าระวังโรครายที่เข้าได้เป็นอย่างดี
              กรอบความคิดในการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ที่นิยมใช้คือ การวิเคราะห์หา อาการ(Symptom) , ปัญหา (Problem) และ สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา(Root Cause)
              แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า แล้วเราจะเริ่ม ตรวจสอบหาอาการปัญหาและสาเหตุได้อย่างไร ประการแรกเราควรเริ่มต้นจากข้อมูลที่เรามีอยู่ และหาได้ง่ายที่สุด คือ การตรวจสอบงบประมาณ จากงบบัญชี ได้แก่งบกำไร ขาดทุน , งบดุล รวมถึงงบกระแสเงินสด  ซึ่งอาการที่แสดงในงบบัญชี สามารถหาได้ง่ายและบ่งชีถึงกรอบการตรวจสอบ ปัญหาไปยังหน่วยงานต่างๆได้ง่ายขึ้น ในส่วนนี้ขอกล่าวรายละเอียดในบทความ การวิเคราะห์งบการเงิน ครับ
              อีกหนึ่งกรอบความคิดที่นำมาช่วยในการศึกษาปัญหาขององค์กร ได้แก่แนวความคิดของ BSC หรือ Balance Score Card ซึ่งมีมุมมองที่คำจุนองค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ได้แก่ Financial Perspective , Customer Perspective , Internal Process Perspective และ Learning and Growth Perspective
           3. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เพื่อหา โอกาส(Opportunity) และ ภัยคุกคาม(Treat) รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ทำให้ทราบถึงจุดแข็ง(Strength) คือสิ่งที่เราทำได้ดีเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด รวมถึงจุดอ่อน(Weakness) คือสิ่งที่เป็น ข้อจำกัด(Constrain) ทำให้เราไม่สามารถสู่กับคู่แข่งได้ เมื่อนำปัจจัยทั้ง 4 ด้านมาแยกกลุ่มเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน จะเกิดเป็น SWOT Analysis ในระดับองค์กร ซึ่งจะนำไปใช้ในการ วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์องค์กร ซึ่งจะกล่าวต่อไปใน Part ที่ 2 ซึ่งก่อนที่จะไปยัง Part ที่ ผมขอให้ ผู้อ่านทำความเข้าใจในการวิเคราะห์ปัจจัย ภายนอกและภายในอย่างถ่องแท้เสียก่อนครับ....

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การจัดการกลยุทธ์ระดับองค์กร คืออะไร สำคัญอย่างไร

การจัดการกลยุทธ์ ในระดับองค์กร
      ในโลกทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น เมื่อมีการแข่งขันกัน ย่อมมีผู้แพ้ และผู้ชนะ ผู้ที่มีโอกาสจะเป็นผู้ชนะ คือผู้ที่มีกลยุทธ์ที่เหนือกว่า
      ดังนัั้นกลยุทธ์ คือ วิธีการใดๆก็ตามที่ทำให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่งในสนามรบ และทำให้เรามีชัยชนะ ตามเป้าหมายที่ตั้งหวังไว้   ซุนวู ได้กล่าวไว้ว่า การรบที่ดี จะต้องรู้เข้า รู้เรา แต่ผมเองอย่างเพิ่มอีกหน่อยว่า กลยุทธ์ที่ดี จะต้อง รู้ สถานะการณ์ รู้เขา รู้เรา และรู้ถึงเป้าหมายสูงสุดของเรา
       ในเชิงการดำเนินธุรกิจแล้ว กลยุทธ์ ย่อมหมายถึง การดำเนินกิจการต่างๆในเชิงบริหาร ได้แก่ POLC(Planning,Organizing,Leading,Controlling) เพื่อให้ธุรกิจ สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งหวังไว้ ในอนาคต ซึ่งมีเวลาที่ชัดเจน หรือ ได้ตาม Vision , Mission และ Object ที่ตั้งไว้
       
       ยกตัวอย่างเช่น เราจะเป็นผู้นำตลาดในอนาคต จะมียอดขายที่ 100,000 ล้านบาท มี Market Share ที่ 40% โดยการตอบสนองความต้องการลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งในด้านของ Innovation และ Service โดยการที่จะถึงเป้าหมายได้จะต้องเริ่มจากการพัฒนาองค์ความรู้และวัฒนธรรมองค์กร อย่างต่อเนื่องหรือ Continuious Improvement ซึ่งคาดว่าเราจะบรรลุเป้าหมายของเราในเวลา 5 ปี