ในบทความนี้จะเริ่มเรียนรู้ ในด้านการจัดการเคลื่อนย้ายสิืนค้าคงคลังให้เกิด ความสมดุลและมีประสิทธิภาพ ร่วมกันทั้ง Supply Chain ....
การที่จะทำให้ Supply Chain เกิดประสิทธิภาพที่ดีนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างความร่วมมือ กันระหว่าง 2 ฝ่าย ได้แก่ ร้านค้า และผู้ผลิืต ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นข้อมูลเดียวกัน(Information Flow) รวมถึงผลลัพท์จะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสม ในทั้ง Supply Chain แต่หากมองในวัตถุประสงค์ของ 2 ฝ่ายจะมีความขัดแย้งกันอย่างมาก
1. ฝั่ง Supplier และผู้ผลิต (** Supply) จะมีกำไรได้จากการทำให้เกิด Economy of Scale ให้มีปริมาณการผลิตที่มากที่สุด นั่นหมายถึง
- ต้องการผลิตสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อ Set Up cost จะต่ำลง
- สั่งสินค้าไม่บ่อย แต่สั่งครั้งละมากๆ เพื่อ ต้นทุนขนส่งสินค้าจะน้อยและคุ้มค่าเที่ยวในการขนส่ง
- ต้องการ Order ที่แน่นอนและให้เวลาในการสั่งสินค้าล่วงหน้า(Takt Time) มากๆ เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตให้เกิด Stock น้อยที่สุด
- ต้องการสินค้าที่ไม่มีความหลากหลายซึ่งทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และ Product Cost ให้น้อยที่สุด
2. ฝั่งของ Retail และลูกค้า(** Demand) กล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของความต้องการตลาดที่ ไม่มีความแน่นอนปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด หรือเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าสูงสุด นั่นเอง ดังนั้นความต้องการของฝั่ง Demand นี้คือ
- ต้องการสั่งสินค้าบ่อยๆ แต่ทีละน้อยๆ เนื่องจากไม่ต้องการรับภาระของสินค้าที่คงค้าง หรือขายไม่ออก จากความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เช่น สินค้า IT ที่มีการเปลียนรุ่นเร็ว ร้านค้ามักจะมีโอกาสขาดทุนจากสินค้าที่ตกรุ่น
- สั่งสินค้าช้า แต่อยากได้สินค้าเร็ว เนื่องจากความต้องการลูกค้าไม่แน่นอน ดังนั้นการสั่งสินค้าช้าหรือมีการสั่งเมื่อมีลูกค้า ย่อมให้ความแน่นอนมากกว่า ในขณะที่ต้องการสินค้าที่เร็วเนื่องจากต้องการตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด และลดการยกเลิกจากการรอคอยสินค้านานๆ
- ต้องการสินค้าที่หลากหลาย เนื่องจากตลาดในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง จึงทำให้นักการตลาดมีการแตกสินค้าหลายๆ Segment เพื่อเป็นการเจาะตลาดรวมถึงการสร้างฐานการตลาดเพื่อป้องกันคู่แข่งเข้ามาแข่งขันในด้านของสินค้าทดแทน
* จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งของความต้องการนั่นจะเป็นอุปสรรค์ต่อการให้เกิดความร่วมมือกันใน Supply Chain ดังนั้นจึงได้มีการนำ Push และ Pull Strategy เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้า ให้สามารถตอบสนองความต้องการฝั่ง Demand และ Supply ให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้ ซึ่งจะนำเสนอในบทความครั้งหน้าครับ ..................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น