แนวความคิดของ Supply Chain จะมองความคิดขององค์รวมของ Value Chain โดยแบ่งมุมมองแนวคิดเป็น 2 ด้าน ได้แก่ แนวความคิดในมุมมองฝั่ง Demand หรือ ลูกค้าในส่วนปลายน้ำ และ แนวคิดในมุมมองฝั่ง Supply หรือต้นน้ำ โดยการพัฒนา Supply Chain จะต้องทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ในแต่ละด้านและทำการพัฒนาควบคู่กันไปทั้ง 2 แนวความคิด
เริ่มจากมุมมองในฝั่ง Demand ผลกระทบที่เป็นอุปสรรค์ต่อเป้าหมายของ Supply Chain ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 2 ประเด็น คือ
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการคาดเดา ความต้องการของลูกค้าในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากว่า
- การพยากรณ์ผิดเสมอ
- ยิ่งพยากรณ์ หรือคาดเดาในระยะเวลาล่วงหน้ายาวนานเท่าใด ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
- การพยากรณ์โดยรวมๆ เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ง่าย แต่หากพยากรณ์ในรายละเอียดทำได้ยากยิ่ง เช่น การพยากรณ์ยอดขายทั้งปี ทำได้ง่าย แต่หากต้องการพยากรณ์ยอดขายในแต่ละเดือน จะยากและผิดพลาดมากขึ้น และถ้าต้องการทราบว่าในแต่ละเดือน จะขายสินค้าแต่ละชนิดเป็นจำนวนเท่าใด โอกาสในการพยากรณ์ยิ่งผิดพลาดได้มากขึ้นเป็นทวีคูณ
ซึ่งสรุปได้ว่า การพึ่งพิ่งค่าจากการพยากรณ์เพื่อกำหนด Demand นำไปสู่การกำหนดแผนการผลิตมีโอกาสจะทำให้ เกิดความผิดพลาดได้
ทั้งนี้ Supply Chain ได้ระบุสาเหตุที่ทำให้การ Forecast Demand ผิดพลาดได้แก่
Pacnic Order หรือยอดขายตกกระใจ ซึ่งเกิดจากความกังวลของลูกค้า หรือร้านค้าปลีกที่ เล็งเห็นว่าสินค้ามีความสำคัญ กังวลว่าสินค้าจะขายตลาด เนื่องจากเป็นที่ต้องการของลูกค้า จึงมีการกักตุนสินค้าไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้ Demand ณ โรงงานผลิต เกิดความต้องการที่เกินกว่าความต้องการที่แท้จริง และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ค้าปลีกพบว่าความต้องการสินค้า ไม่ได้มากเท่าที่คาดไว้ จึงทำการเร่งระบายสินค้าในโกดัง ส่งผลทำให้โรงงานไม่มี คำสั่งผลิตเข้ามา ซึ่งสิ่งนี้ ได้สร้างปัญหาให้โรงงานผลิตสินค้า ที่จะมีการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ในช่วงที่นำมันพืชขาดตลาด ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำมันพืชเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งมีการใช้คงที่ ประกอบกับโรงงานผลิตมี Stock สินค้าเป็นจำนวนหนึ่งสินค้าไม่น่าจะขาดตลาด แต่ทั้งนี้ ความกังวลของกระแสข่าวที่ว่า น้ำมันปาร์มจะขาดตลาดและมีการขึ้นราคา ส่งผลทำให้เกิดการกักตุนทั้งจากผู้บริโภคและร้านค้าปลีกรายย่อย ทำให้น้ำมันพืชขาดตลาดจริงๆ ในช่วงเวลา 2 เดือน
Duplicate Order หรือยอดขายซ้ำ มักเกิดขึ้นกับ ธุรกิจที่มีช่องทางจำหน่ายหลายๆช่องทาง จึงมีโอกาสที่จะเกิดยอดขายที่ซ้ำกันจากลูกค้า 1 ราย เช่น ธุรกิจโรงหนัง ที่มีช่องทางทั้งการจองผ่าน Internet , Call Center รวมถึงซื้อตั๋วที่หน้าโรงหนัง ซึ่งหากเพื่อน 3 คน นัดกันไปดูหนัง แต่ทว่าแต่ละคนได้หวังดี จองตั๋วให้เพื่อนล่วงหน้า โดยนาย ก. จองผ่าน Internet 3 ใบ, นาย ข. โทรไปจองทางโทรศัพท์ 3 ใบ และนาย ค. ไปซื้อตั๋วหน้าโรงให้เพื่อน 3 ใบ จะเห็นได้ว่าจาก ความต้องการดูหนัง 3 คน แต่ที่โรงหนังกลับมียอดจองที่ 9 ที่นั่ง ซึ่งเกินจากความเป็นจริง 6 ใบ หรือ 3 เท่า
Redundant Demand หรือ Demand ส่วนเกิน ซึ่งจากทั้ง Pacnic Order และ Duplicate Order ส่งผลทำให้มี Demand ที่เกินกว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนการผลิต รวมถึงการจัดการสินค้าต่างๆ ที่เกินกว่าความต้องการลูกค้า แต่ ปัญหาที่รุ่นแรงยิ่งกว่าคือ Redundant Demand เป็นสาเหตุทำให้เกิด Bullwhisp Effect ซึ่งเป็นอุปสรรค์ที่ทำลายระบบ Supply Chain ทั้งระบบ
2. ปัญหาจากความไม่แน่นอน(Uncertainty) เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้และยากแก่การคาดเดาล่วงหน้าได้ เช่น พฤติกรรมความต้องการลูกค้าที่ไม่แน่นอน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว , อุบัติภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั่งตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดแผนการผลิตที่ไม่แน่นอน เช่นการขนส่งสินค้าที่อาจพบกับการจราจรที่ติดขัด ทำให้ส่งสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด
ประเด็นของปัญหาจากการพยากรณ์และความไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อปัญหาในด้านของ Bullwhisp Effect ซึ่งเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญ ที่ต้องแก้ไขให้มีผลกระทบต่อ Supply Chain ให้น้อยที่สุด
Bullwhisp Effect หรือปรากฎการณ์แส้ม้า คือ การที่ความต้องการ(Demand) ที่สั่นไหวเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากปลายน้ำหรือลูกค้า และจะมีความสั่นไหวของ Demand มากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงต้นน้ำ หรือ Supplier ยกตัวอย่างเช่น
สบู่เหลวตรา นกขุนทอง ออกแคมเปนจ์ร่วมกับห้างตัวซี โดยมีการซื้อ 1 แถม 1 ส่งผลให้ลูกค้ามีการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ซื้อ 4 ชุด หรือ 8 ขวดใหญ่สินค้าหมด Stock ห้างตัวซี อย่างเร็วในเวลา 2 วัน แต่ระยะโปรโมชั่นใช้เวลา 7 วัน ทำให้ โรงงานสบู่เหลวต้องเร่งผลิตสินค้าให้ทันตามความต้องการในช่วงโปรโมชั่น โดยการเร่งเครื่องจักร ทำ OT ทำให้มีต้นทุนที่สูง แต่มีกำไรน้อยลงจากการขายสินค้าครึ่งราคา แต่ทว่าในความเป็นจริงลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อไปแล้วใน 2 วันแรก ทำให้ยอดขายใน 5 วันที่เหลือตกลงมีสินค้าเหลือที่ห้างตัวซี จนเต็มชั้น ทางโรงงานจึงต้องหยุดผลิตกระทันหัน คนงานจึงต้องหยุดงานเนื่องจากไม่มีการผลิต รวมถึงโรงงานสบู่เหลวยังมีสินค้าเหลือเต็มโกดังเนื่องจากคาดว่ายอดขายสินค้าจะเท่ากับ 2 วันแรกที่มีโปรโมชั่น จึงมีการผลิตเผื่อสำรองไว้แล้ว 5 วัน
นอกจากนี้ โรงงานน้ำหอมและโรงงานน้ำมันสบู่ซึ่งเป็นผู้ส่งวัตถุดิบ ก็ได้มีการเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อของโรงงานผลิตสบู่เหลว ตามยอดที่ได้มาโดยกว่าจะทราบว่าโรงงานผลิตสบู่ได้หยุดการผลิตและไม่มีความต้องการวัตถุดิบ เวลาก็ผ่านไปแล้ว 5 วัน ส่งผลทำให้ Stock วัตถุดิบในโกดังน้ำหอมและน้ำมันสบู่ มีปริมาณเหลือที่จะส่ง โดยที่ไม่ต้องมีการผลิตเป็นเวลา 10 วัน ทำให้โรงงานทั้ง 2 ต้องปิดการผลิตเป็นเวลา 10 วัน ทำให้สภาพคล่องทางการเงิน ของทั้ง 3 โรงงานแย่ไปตามๆกัน
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ความสั่นไหวของ Demand ส่งผลทำให้ Stock ของผู้ค้าปลีกตัวซี มี 1 วัน ในขณะที่ โรงงานสบู่มี Stock 5 วัน และ โรงงานน้ำหอมและน้ำมันสบู่ มี Stock 10 วัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากปลายน้ำที่มีผลเล็กน้อย แต่ต้นน้ำกลับได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้นเรือยๆ .... นอกจากนี้้ยังส่งผลกระทบต่อโรงงานและพนักงาน รวมถึงการดำเนินกิจการ ที่เสียหาย ทั้งระบบ ...............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น