Risk Pooling หรือการรวมความเสี่ยงเป็นวิธีการทีีมุ่งเน้นการลดความผันผวนของข้อมูล โดยนำแนวคิดทางสถิติมาใช้ โดยมีพื้้นฐาน จากบทความครั้งก่อน โดยการหาวิธีในการเพิี่มค่าเฉลี่ยให้มากกว่าการเพิ่มขึ้นของส่วนเบียงเบนมาตราฐาน ซึ่งจะทำให้ค่า CV มีแนวโน้มที่ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ โดยมีวิธีการดังนีั้
1. Risk Pooling across Location หรือการนำข้อมูลของหลายๆพื้นที่ มารวมกลุ่มกัน เช่น ร้านค้าปลีกรายย่อยในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมี 100 ร้านค้า การจะทำนายความต้องการของหลายๆร้านค้า ทำได้ยาก แต่ในการวางแผนการผลิต จะนำ ยอดขายร้านค้ามารวมกลุ่มกัน เป็นยอดขายของภาคเหนือแทน
2. Risk Pooling across Product โดยการทำให้สินค้า มีการใช้ทดแทนกันได้ เช่น Toyota ที่มีการผลิต ครัทซี , เครื่องยนต์ และระบบพวงมาลัย ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ในรถหลายๆรุ่น เช่้น Toyota Collara และ Soluna สามารถใช้อะไหลหลายๆชิ้นร่วมกัน , Toyota Vigo และ Toyota Fortuner สามารถใช้ชิ้นส่วนร่วมกันได้ เป็นต้น
3. Risk Pooling across time ซึ่งเกิดจากสินค้าที่มีความเป็น Seasnonal หรือมียอดขายขึ้นลงตามฤดูการ การรวมความเสี่ยงจะเป็นการ กระจายยอดขายในช่วง Hign Season ให้น้อยลง และเพิ่มยอดขายในช่วง Low Season ให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้การผลิตสินค้ามีความสมำเสมอเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว ที่จะมีการเปิดจองล่วงหน้า โดยเสนอราคาที่ต่ำกว่า รวมถึงการ ตั้งระดับราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ใช้บริการ ลดการใช้บริการพร้อมๆกันในช่วงเวลาเดียว ทำให้ลดความผันผวนของ CV ได้
....... นอกจากนี้ การลดความผันผวนยังส่งผลทำให้ กิจการมีความสามารถในการบริการลูกค้าเพิ่มยิ่งขึ้น รวมถึงมี สินค้าคงคลังน้อยลง ซึ่ง ค่าที่ใช้วัดประสิทธิืภาพในการบริการลูกค้า เรียกว่า Service Level ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความหน้า ครับ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น