วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์ระหว่าง Service Level , Inventory และความผันผวน

          บทความนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับ Service Level กันว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร กันครับ
          เริ่มจาก Service Level คืออะไร ....... Service Level หมายถึง การกำหนดค่าที่ใช้วัดการตอบสนองความต้องการของลูกค้า .... หรือการที่กำหนดว่าโอกาสของสินค้าจะไม่เกิดการขาด Stock มีกี่เปอร์เซนต์ อธิบายจากภาพข้างล่างโดยใช้หลักสถิืติดังนี้



           ยกตัวอย่างเช่น เราขายสินค้าชนิดหนึ่ง มีค่าเฉลี่ย ที่ 100 ชิ้นต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงการขายสินค้ามีโอกาสที่จะขายเกินกว่า 100 ชิ้น ที่ 50%(พื้นที่ใต้กราฟด้านวามือ) รวมถึงมีโอกาสที่จะขายสินค้าต่ำกว่า 100 ชิ้น ที่ 50% เช่นกัน(พื้นที่ใต้กราฟทางซ้ายมือ) แสดงให้เห็นว่าถ้าเรา Stock สินค้าเพื่อขายล่วงหน้า 100 ชิ้น มีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าแล้วของขาดหรือไม่พอขายที่ 50%
           ดังนั้นในความเป็นจริง ร้านค้าจะต้องมีการเผื่อสินค้าให้เพียงพอต่อการขายที่มีความผันผวนตลอดเวลา แต่การที่จะกำหนดว่าควรจะ Stock สินค้าเกินกว่าค่าเฉลี่ยเท่าใดนั้น จะถูกกำหนดโดย Service Level
           ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเก็บค่าสถิติย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ค่าเฉลี่ยของการขายสินค้า A มีค่า 100 ชิ้นต่อเดือน และมีค่า SD ที่ 50
            ถ้าเราต้องการให้มี Service Level ที่ 96% หรือ โอกาสที่ลูกค้าซื้อของแล้วไม่ได้สินค้าเนื่องจากของหมดอยู่ที่ 4% เราควรมี Stock สินค้าเท่าใด
            จากกราฟด้านบน โอกาสที่สินค้า A จะขาด Stock ที่ 4%( 100 - 95.4 ~ 4%) อยู่ที่ ค่าเฉลี่ย + 2SD
 หรือ 100 + 50x2 = 200 ชิ้นต่อเดือน แสดงว่าถ้าเราต้องการ Service Level ที่ 96% เราจะต้องมีการ Stock สินค้า A ไว้ที่ 200 ชิ้นต่อเดือน

            ** จะเห็นได้ว่า Service Level ที่สูงจะส่งผลต่อ จำนวน Stock สินค้าหรือ Inventory ที่สูงขึ้นตามอัตรา Service Level ที่สูงขึ้น
            ** ในขณะเดียวกัน ที่ Service Level ที่เท่ากัน สินค้าที่มีความไม่แน่นอน หรือความผันผวนสูง จะทำให้ต้องมี Stock สินค้า หรือ Inventory ที่มากกว่า
            ** คำถามคือ ถ้าเราต้องการลด Stock หรือ Inventory จะต้องลด Service Level ลงใช่หรือไม่?
   
            ** คำตอบคือ ในทาง Supply Chain จะมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นวัตถุประสงค์หลัก ดังนั้น การที่ Service Level ที่สูงจะเป็นการดีต่อการตอบสนองความต้องการลูกค้า แต่อย่างไรก็ตาม Supply Chain จะต้องทำให้ Stock สินค้ามีปริมาณที่น้อยที่สุด
                 ดังนั้นทางที่จะลด Stock ได้นั้นจะต้องลดที่ ความไม่แน่นอน หรือ ความผันผวนลง
                 จากตัวอย่างที่ผ่านมา ถ้าเราสามารถลดค่า SD ของสินค้า A ลงเหลือ 25% ดังนั้น ถ้าเราต้องการ Service Level คงที่ที่ 96% นั่นหมายถึง Stock สินค้าจะมีจำนวน 100 + 2x25 = 150 ชิ้น

                 ดังนั้นในทาง Supply Chain การลดความผันผวนจะทำให้เราสามารถ ลด Stock สินค้า หรือ Inventory ได้ลดลง หรือแม้แต่การที่คง Inventory ในอัตราส่วนคงที่ แต่สามารถตอบสนองความต้องการใด้ดีขึ้น
                 แล้วเราจะลดความผันผวนได้อย่างไร ..... ลองอ่านบทความก่อนหน้านี้เช่น VMI , Risk Pooling จะเป็นวิธีการที่ทำให้ความผันผวนลดลงครับ  ....
                 ในบทที่ผ่านมาทั้งหมด จะเป็นการจัดการในส่วนของ Information Flow โดยมุ่งเน้นความถูกต้องของข้อมูล ตั้งแต่ปลายน้ำไป ถึงต้นน้ำ และการจัดการความผันผวน ต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลเกิดประสิทธิืภาพสูงสุดต่อการนำไป กำหนดแผนการผลิต ในบทความหน้าจะมานำเสนอในส่วนของ การจัดการสินค้าและการเคลื่อนย้ายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ( Product Flow) ..........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น